วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary Note 6 October 2015

Diary Note No.8

Substance

นำเสนอวิจัย (Research)

เลขที่ 4 การจัดการศึกษาผลของรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

นำเสนอของเล่น

เครื่องดูดจอมกวน



อุปกรณ์

  1. ขวดน้ำขนาด 5 ลิตร
  2. หลอดน้ำ 2 หลอก
  3. ลูกโป่ง 1 ลูก
  4. กรรไกร
  5. เทปกาว
  6. ดินน้ำมัน
  7. อุปกรณ์สำหรับเจาะ

วิธีทำ

  1. นำฝาขวดน้ำมาเจาะ 2 รู ขนาดให้พอดีกับหลอดน้ำ
  2. นำหลอดน้ำ 1 หลอกมาใส่ในลูกโป่ง พร้อมติดเทปกาว
  3. นำหลอดน้ำที่ไม่มีลูกโป่ง และมีลูกโป่งไปที่ฝาขวดน้ำ
  4. หลังจากนั้นให้นำทั้งหมดใส่ไปในขวด ปิดฝาให้แน่น
  5. ติดดินน้ำมันตรงฝาขวดน้ำที่เจาะรูไว้เผื่อไม่ให้อากาศเข้าสู่ภายในขวด

วิธีการเล่น

  • ให้เด็กเป่าหลอดที่ไม่มีลูกโป่ง จากนั้นให้เด็กลองดูดหลอดที่มีลูกโป่งแล้วให้เด็กสังเกต
สรุป 
  • เมื่อดูดหลอดสีเขียวซึ่งไม่ได้ต่อกับลูกโป่ง อากาศจะเข้าไปในหลอดสีชมพูและเข้าปากเรา จึงทำให้อากาศในขวดลดน้อยลง ทำให้อากาศภายนอกไหลเข้าไปในหลอดสีชมพูที่ต่อกับสีลูกโป่ง และทำให้ลูกโป่งพองขึ้นนั่นเอง

เทคนิคการสอน (Technical Education)
  • มีการใช้คำถาม-ตอบ ในเรื่องที่เรียนอยู่
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • Has been ask and answer skill
  • Has been critical thinking skills
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องสัตว์ พืช พลังงาน อีกทั้ง ยังรู้ถึงการสอนว่าเราควรสอนอย่างไร เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ อีกทั้งยังสามารถนำของเล่นที่เพื่อนประดิษฐ์ นำใช้ในการสอนได้ในอนาคตได้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  • อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายและน่าสนใจ

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุป โทรทัศน์ครู เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์

สรุปโทรทัศน์ครู (Thai Teacher TV)

เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์

โดย อาจารย์ เฉลิมชัย วัดเข้าหลาม

     การสอนวิทยาศาสตร์อย่างไรนั้นไม่ให้น่าเบื่อ และสอนอย่างไรให้เด็กมีความชอบ ความรักในวิทยาศาสตร์ หลักการที่ อาจารย์ เฉลิมชัย ใช้ คือ

  1. เราต้องสอนให้สนุก สอนให้น่าสนใจ
  2. สอนในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เช่น ธรรมชาติ สิ่งของ เป็นต้น
  3. ให้เด็กลงมือกระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเอง เด็กนั้นจะเกิดความจดจำแบบไม่รู้ลืม
     ซึ่งในคลิปวีดีโอนี้เป็นคาบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งกำลังจะเรียนในเรื่องของเสียง อาจารย์เฉลิมชัย ใช้เทคนิคที่กล่าวมา มาใช้ในการสอน ซึ่งอาจารย์เฉลิมชัย มีเทคนิคการสอน ดังนี้

     ขั้นนำของการสอน อาจารย์เฉลิมชัย ดึงดูดความสนใจ โดยการเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความสามารถในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเสียง มาโชว์เพื่อนๆ หน้าห้อง เช่น แสดงการเล่นไวโอลิน เป่าขลุ่ย เล่นกีต้าร์ และครูก็ได้นำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำไว้ มาโชว์ให้เด็กๆ ได้ดู ในขั้นนี้ อาจารย์ได้ดึงความสนใจเด็กๆ เพื่อเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่จะเรียน

     ขั้นสอน อาจารย์เฉลิมชัย ถามเด็กๆ ว่าเสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร จากนั้นก็ลงมือทำสิ่งประดิษฐ์เพื่อหาคำตอบว่า ทำไมเสียงถึงเกิดขึ้น ระหว่างที่ทำสิ่งประดิษฐ์ อาจารย์ก็ลงมือทำกับเด็กๆ ด้วย และพูดคุยถึงเรื่องเสียง ถ้าเราทำนอกไม่เหมือนอาจารย์เสียงจะเกิดขึ้นไหม แลกเปลี่ยนความรู้กับเด็กๆ ระหว่างทำ

     เมื่อเด็กๆ ทำสิ่งประดิษฐ์เสร็จ ให้เด็กๆ ออกมานำเสนอหน้าห้องเรียนเป็นกลุ่มๆ จากนั้นก็นำมาสรุปผลพร้อมกัน

     สรุปการสอนวิทยาศาสตร์ไม่ให้มีความน่าเบื่อ คือ เราต้องสอนให้สนุกมีความน่าสนใจ ไม่ควรจริงจังมากเกินไป เปิดโอกาสให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง ซึ่งการที่เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่จำแบบไม่รู้ลืม
     

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย เรื่อง การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ (Preschool Children's Critical Thinking Though Science Activities)

สรุปวิจัย
เรื่อง : การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
         (Preschool Children's Critical Thinking Though Science Activities)

ปริญญานิพนธ์
ของ : เสกสรร มาตวังแสง

ความมุ่งหมาย
  1. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์โดยจำแนกรายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
  2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
สมมติฐานการวิจัย
  • การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ตัวแปรที่ศึกษา
  1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  2. ตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดวิจารณญาณ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  1. แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
  2. แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 
แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
  • ชุดที่ 1 การคิดวิเคราะห์ 



  • ชุดที่ 2 การใช้เหตุผล


  • ชุดที่ 3 การสังเคราะห์



  • ชุดที่ 4 การประเมินค่า


แผนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์


หน่วย : ดิน หิน ทราย
กิจกรรม : ในดินมีอะไร
จุดประสงค์การเรียนรู้
  • เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมนี้แล้วสามารถพัฒนาการคิดวิจารณญาณ ด้านการวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
สื่อวัสดุอุปกรณ์
  1. ดินร่วน ดินทราย ดินเหนียว
  2. น้ำ
  3. อ่างน้ำ
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
  1. ครูแนะนำกิจกรรมในดินมีอะไร และสื่อวัสดุอุปกรณ์การทดลอง
  2. เด็กและครูพิจารณาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง ดังนี้
    - เด็กสังเกตลักษณะของดินร่วน ดินทราย ดินเหนียว ว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน
    - เด็กบอกประโยชน์ของดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย
ขั้นดำเนินกิจกรรม
  1. เด็กและครูร่วมกันวางแผนการทดลอง ดังนี้
    - ให้เด็กจับดินได้อย่างอิสระเพื่อดูว่าในดินมีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง มีสีอะไร มีลักษณะอย่างไร
    - ให้เด็กนำน้ำเทใส่ในดินเพื่อนจะได้เห็น สัมผัสส่วนประกอบของดินอย่างละเอียด แล้วลองขยำดูว่า ในดิมีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง
    - ให้เด็กสังเกตว่าในดินมีส่วนประกอบอะไรมากที่สุด และพบอะไรในดินน้อยที่สุด
  2. ครูให้เด็กๆ นำดินชนิดต่างๆ  ในโรงเรียนมาขยำดูเพื่อสังเกตว่าในดินต่างชนิดกันมีส่วนประกอบเหมือนกันหรือไม่
ขั้นสรุป
  1. เด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับขั้นตอน การเปลี่ยนแปลงระหว่างการทดลองวิทยาศาสตร์ และสรุปผลตามความเข้าใจของตนเอง
  2. เด็กๆ และครูร่วมกันสรุปผลการทดลองดังนี้
    - เด็กๆ จะเห็นได้ว่า ในดินนั้นมีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น ดิน หิน กรวด เศษไม้ ใบไม้ เศษพืช ซึ่งดินเกิดจากการทับถมของซากต่างๆ เป็นเวลานานและดินแต่ละชนิดมีความละเอียดแตกต่างกัน ดินเหนียว เนื้อดินจะละเอียดติดกัน ส่วน ดินทราย เนื้อดินจะหยาบไม่ติดกัน
การประเมินผล
  1. สังเกตจากการสรุป การทดลองตามความเข้าใจของตนเอง
  2. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
  3. สังเกตการตอบคำถาม
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
  1. กิจกรรมวิทยาศาตร์เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กจะเกิดความสนใจและตื่นเต้นในขณะทำการทดลองได้เห็นถึงขั้นตอนในการทดลอง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทำให้เด็กเกิดความสงสัยระหว่างการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กได้คิดค้นหาคำตอบ และสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของเด็กเอง
  2. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะได้หยิบจับ สัมผัส สังเกต วัสดุอุปกรณ์ต่างๆอย่างอิสระเพื่อวิเคราะห์ลักษณะความเหมือนความต่างของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  3. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างที่ทำการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้คิดและบอกเหตุผลที่ได้จากการสังเกต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความเข้าใจของตนเอง
  4. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะรวบรวมที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลองและสังเกตผลการทดลองเพื่อสังเคราะห์กระบวนการในการทดลองเป็นขั้นตอนแล้วจึงสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง