วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary Note 24 November 2015

Diary Note No.15

Substance

นำเสนอวิจัย (Research)
  • เลขที่ 15  เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 24 เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
นำเสนอโทรทัศน์ครู (Thai Teacher TV)
  • เลขที่ 25 เรื่อง สอนปฐมวัยด้วยธรรมชาติผสานวิถีพุทธ

เทคนิคการสอน (Technical Education)
  • มีการใช้คำถาม-ตอบ ในเรื่องที่เรียนอยู่
  • สอนเริ่มจากหลักการแล้วนำมาสรุป
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • Has been ask and answer skill
  • Has been critical thinking skills
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  •  อาจารย์สอนเข้าใจง่าย เข้าสอนตรงต่อเวลา

Diary Note 20 November 2015

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558
(์National Science and Technology Fair)
ณ ชาเลนเจอร์ อิมแพคเมืองทองธานี





 กิจกรรมภายในงานมีหลายกิจกรรม ดังนี้

1.ของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น





นี่คือกิจกรรม ในบูธของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ในบูธนี้จะมีของเล่นสมัยก่อนมากๆ มาย ให้นักเรียนได้เข้ามาลองเล่น
2.ห้องมืด




3.พลังงานลม


























4.สัตว์ป่าสงวน



มีการจำลองสัตว์ซึ่งเหมือนจริงมาก สัตว์ที่จำลองมาเป็นสัตว์ป่าสงวน

สัตว์ป่าสงวน มีดังนี้
  1. กระซู่
  2. กรูปี
  3. ควายป่า
  4. ละมั่ง
  5. สมัน
  6. แต้วแร้ว
  7. นกกระเรียน
  8. แรด
  9. สมเสร็จ
  10. เก้งหม้อ
  11. พะยูน
  12. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรณ์
  13. แมวลายหิวอ่อน
  14. เลียงผา
  15. กวางผา
ทคนิคการสอน (Technical Education)
  • อาจารย์ให้นักศึกษาไปศึกษานอกห้องเรียนในมหากรรมงานวิทยาศาสตร์ 
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • ได้ทักษะการสังเกต (Observe Skills) 
  • ได้ทักษะการศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถทำความรู้ที่ได้จากการดูงานไปประยุกต์ใช้ในการเรียน และการสอนได้
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  • -

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary Note 17 November 2015

Diary Note No.14

Substance

กิจกรรม (Activities) 
  • ทำกิจกรรม Cooking บัวลอย , ไอศครีม ,  บูลเบอรี่ชีสพาย
 การทำบูลเบอรี่ชีสพาย
  • แบ่งเป็นฐาน 3 ฐานดังนี้ 
ฐานที่ 1 บดโอริโอ้ให้ละเอียด จากนั้นนำไปผสมกับเนยที่ละลายแล้ว แล้วตักใส่ถ้วย



ฐานที่ 2 นำครีมชีสไปผสมกับโยเกิร์ต และผสมน้ำมะนาวเล็กน้อย แล้วตักใส่ถ้วย



ฐานที่ 3 นำบูลเบอรี่ตักใส่ถ้วย แล้วตกแต่งด้วยช็อคโกแล็ตชิพ และเยลลี่



การทำบัวลอย 

  • แบ่งเด็กออกเป็น 3 ฐาน ดังนี้ 
 ฐานที่ 1 ผสมแป้ง และสีผสมอาหารเข้าด้วยกัน



ฐานที่ 2  ปั้นแป้งที่ผสมให้ปั้นเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ พอประมาณ



ฐานที่ 3 นำแป้งที่ปั้นนำไปใส่ในน้ำเดือด รอจนแป้งที่ปั้นไว้ลอยเหนือน้ำ แล้วค่อยตักใส่ถ้วย ราดด้วยน้ำกระทิที่ปรุงรสไว้ เป็นอันเสร็จ






การทำไอศครีมนมสด
อุปกรณ์
  1. ถ้วย
  2. ถุงซิปล็อคใบใหญ่ และ ใบเล็ก
  3. ตะกร้อตีไข่
วัตถุดิบ
  1. นมข้นหวาน
  2. นมจืด
  3. วิปปิ้งครีม
  4. น้ำแข่ง
  5. ท็อปปิ้งสำหรับตกแต่ง 

วิธีการทำ
  • แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม แจกอุปกร์และทำไปพร้อมกัน
ขั้นที่ 1 แนะนำอุปกรณ์ต่างๆและบอกวิธีการทำ


ขั้นที่ 2 แจกอุปกรณ์ต่าง ๆ  และ เทนมจืด พร้อมนมข้นหวานลงในถ้วย คนให้เข้ากัน



ขั้นที่ 3 ใส่เกลือเล็กน้อยแล้วคนให้เข้ากัน



ขั้นที่ 4 ใส่วิปปิ้งครีมแล้วคนให้เข้ากัน



ขั้นที่ 5 เทส่วนผสมทั้งหมดลงในถุงซิปล็อค



ขั้นที่ 6 ตักน้ำแข็งใส่ถุงซิปล็อคขนาดใหญ่ ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วคนให้เข้ากัน



ขั้นที่ 7 นำถุงซิปเล็กที่ใส่ส่วนผสม ใส่เข้าไปในถุงซิปใหญ่ที่มีน้ำแข็ง



ขั้นที่ 8 เขย่าถุงซิปล็อคจนไอศครีมแข็งตัว




ขั้นที่ 9  เมื่อไอศครีมแข็งก็ตักใส่ถ้วย



ขั้นที่ 10 ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ



เทคนิคการสอน (Technical Education)
  • อาจารย์สอนโดยให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง
  • สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • ได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ นักศึกษา
  • ได้ทักษะการทำอาหารที่เราทำไม่เป็น
  • ได้ทักษะการสังเกตขั้นตอนการทำ (Observe Skills)
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถนำเนื้อหาที่เรียนไปใช้ในการจัดกิจกรรม cooking ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเด็ก และนำหลักการเขียนแผนไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  • อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายในขั้นตอนที่เด็กสงสัยได้อย่างชัดเจน

Diary Note 10 November 2015

Diary Note No.13

Substance

กิจกรรม (Activities) 
  • ทำกิจกรรม Cooking วาฟเฟิล และ ข้าวทาโกยากิ (Waffle and Takoyaki)
การทำขนม วาฟเฟิล (Waffle) 


อุปกรณ์
  1. เตาวาฟเฟิล
  2. ตะกร้อตีไข่
  3. ถ้วย
 วัตถุดิบ


  1. แป้งวาฟเฟิลสำเร็จรูป
  2. ไข่ไก่
  3. นม
  4. น้ำดื่ม
  5. กลิ่นวนิลา
  6. อุปกรณ์ตกแต่งหน้าวาฟเฟิล เช่น ช็อคโกแลต (Chocolate) , แยม (Jam) , เยลลี่ 
วิธีการทำ
  • จะใช้วิธีแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม และแจกวัตถุดิบอุปกรณ์ 
ขั้นที่ 1 ใส่แป้ง ไข่ไก่ นม น้ำดื่ม กลิ่นวนิลา แล้วคนให้เข้ากัน


ขั้นที่ 2 เมื่อได้ส่วนผสมที่เข้ากันแล้ว ก็นำมาใส่ในเตาวาฟเฟิล


ขั้นที่ 3 เมื่ออบเสร็จแล้ว ก็นำมาตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ



เด็กได้รับทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างไรจากการทำวาฟเฟิล
  • ครูและเด็กตั้งประเด็นปัญหา ว่าทำอย่างไรถึงทำให้ออกมาแล้วกินได้ ระหว่างทำ ให้เด็กสังเกตขั้นตอนการทำ ในแต่ละขั้น
         ขั้นที่ 1 ใส่แป้ง ไข่ไก่ นม น้ำดื่ม กลิ่นวนิลา ให้เด็กสังเกต เมื่อเราใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงไป ทำไมถึงกลายเป็นของเหลว
         ขั้นที่ 2 นำมาใส่เตาวาฟเฟิล ให้เด็กสังเกตก่อนใส่เตา เป็นของเหลว เมื่อเราอบเสร็จ ก็กลายเป็นของที่นิ่มขึ้น ได้อย่างไร

การทำข้าวทาโกยากิ (Takoyaki)


อุปกรณ์
  1. เตาทาโกยากิ
  2. ถ้วย
  3. ตะเกียบ
  4. ช้อน
  5. หม้อหุงข้าว
  6. ทัพพี
วัตถุดิบ
  1. ข้าวสวย
  2. ไข่ไก่
  3. ปูอัด
  4. ซอสปรุงรส
  5. มายองเนส
  6. ซอสทาโกยากิ 
  7. สาหร่าย
วิธีการทำ
  • จะใช้วิธีโดยแบ่งเป็น 4 ฐาน ดังนี้
ฐานที่ 1 ให้ตักข้าวสวย 3 ช้อน แล้วผสมกับไข่ที่ตีไว้



ฐานที่ 2 ให้เด็กนำไปปรุงรส จากนั้นใส่ปูอัดลงไป


ฐานที่ 3 เมื่อผสมส่วนผสมเสร็จ ก็นำไปใส่ในเตาทาโกยากิ


ฐานที่ 4 ราดซอสทาโกยากิน + มายองเนส โรยสาหร่ายนิดหน่อย ตกแต่งตามใจชอบ



เด็กได้รับทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างไรจากการทำทาโกยากิ

  •  ครูและเด็กตั้งประเด็นปัญหา ว่าทำอย่างไรถึงทำให้ออกมาแล้วกินได้ ระหว่างทำ ให้เด็กสังเกตขั้นตอนการทำ ในแต่ละฐาน เช่น
    ฐานที่ 4 ตอนที่เด็กนำส่วนผสมที่ทำเสร็จแล้วไปใส่เตา ให้เด็กสังเกตว่า ทำไมถึงทำเป็นก้อนกลมๆ ได้ และทำไมถึงเปลี่ยนของเหลว เป็นของที่นิ่มได้ 

นำเสนอแผนการสอน
  1. แผนการสอน Cooking
  2. แผนการทดลอง 
เทคนิคการสอน (Technical Education)
    • อาจารย์สอนโดยให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง
    • สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
    • ได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ นักศึกษา
    • ได้ทักษะการทำอาหารที่เราทำไม่เป็น
    • ได้ทักษะการสังเกตขั้นตอนการทำ (Observe Skills)
    การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
    • สามารถนำเนื้อหาที่เรียนไปใช้ในการจัดกิจกรรม cooking ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเด็ก
    ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
    • อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา มีการสอนให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง อธิบายแผนการสอนได้อย่างละเอียดและเข้าใจง่าย

    Diary Note 3 November 2015

    Diary Note No.12

    Substance

    อาจารย์และนักศึกษาร่วมอภิปรายการเขียนแผนการสอน Cooking แผนการทดลอง

    การเขียนแผนประสบการณ์จะไปกอบไปด้วย
    1. วัตถุประสงค์  ต้องใช้คำกริยาให้เด็กแสดงออกเป็นการกระทำ ไม่ควรใช้คำกริยาซ้อนคำกริยา วัตถุประสงค์ต้องครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน
    2. สาระการเรียนรู้  ประกอบไปด้วย สาระที่ควรเรียนรู้ จะบอกในเรื่องของสิ่งที่เราจะเรียนความรู้ต่างๆ ประสบการณ์สำคัญ คือ สิ่งที่เด็กจะได้รับจากการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สามารถดูได้ในหนังสือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
    3. กิจกรรมการเรียนรู้  จะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
    4. แหล่งการเรียนรู้  สื่อหรืออุปกรณ์ในแต่ละครั้งที่เราใช้
    5. การวัดและการประเมินผล  คือเครื่องมือที่เราใช้วัดและประเมินผลในตัวของเด็ก ซึ่งมีหลายเครื่องมือ เช่น การสังเกตจากการทำกิจกรรม การตอบคำถาม รวมไปถึงการประเมินผลงานของเด็ก
    6. การบูรณาการ  ในแต่ละครั้งเราสามารถบูรณาการในการสอนครั้งนี้ให้สอดคล้องกับวิชาอะไรได้บ้าง
    เทคนิคการสอน (Technical Education)
    • อาจารย์สอนโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ
    • มีการย้ำความเข้าใจโดยใช้การถาม-การตอบ
    ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
    • ได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ นักศึกษา
    • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์
    การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
    • เนื้อหาที่เรียนในวันนี้คือเรื่องของการเขียนแผนการสอนซึ่งนักศึกษายังไม่เคยได้เคยเขียนแผน Cooking เราสามารถนำความรู้ในการเขียนแผนไปปรับกับการสอนจริงๆ ได้
    ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
    • อาจารย์สอนการเขียนแผนได้อย่างละเอียดชัดเจน และเข้าใจง่าย

    Diary Note 27 October 2015

    Diary Note No.11

    Substance

    แบ่งกลุ่ม 5-6 คน ทำกิจกรรม ดังนี้ 
    1. กิจกรรมดอกไม้บาน
              
              อาจาร์ยแจกกระดานคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาตัดรูปดอกไม้แล้วระบายสี และให้เพื่อน 1 คน คอยจดพฤติกรรมของเพื่อน ในประเด็นที่น่าสนใจ
               จากนั้น นำดอกไม้ที่ตัดมาผับกลีบแล้วนำมาลอยในถาดที่มีน้ำ ให้เพื่อนสังเกตดอกไม้ที่เอาไปวางบนน้ำ แล้วจดบันทึก ดอกไม้ที่เราเอาไปวางจะค่อยๆ บานออก แล้วแบ สุดท้ายก็ค่อยๆ จมไปในที่สุด

              สรุป  ดอกไม้ที่พับไว้บานออก เพราะ น้ำจะดูดซึมเข้าไปในช่องว่างทำให้กลีบดอกไม้บาน สีที่ระบายเปรียบเสมือนสมอง น้ำที่โดสี เหมือนการเกิดการเรียนรู้ และสีที่เกิดใหม่ เปรียบเสมือน ความรู้ใหม่ที่ได้รับ ส่วน ดอกไม้จม ก็เป็นเพราะว่า น้ำอยู่ทั่วพื้นที่ ทำให้ช่องว่างไม่มีเลยทำให้ดอกไม้ที่ลอยอยู่นั้นจมลงไป

         2.กิจกรรมรูไหนพุ่งไกลกว่ากัน 


              นำขวดน้ำ 1 ขวด มาเจาะรู 3 รู ในระดับ บน กลาง ล่าง จากนั้นนำสก็อตเทปมาปิดรูไว้ แล้วใส่น้ำให้เต็มขวด และให้นักศึกษาเดา ถ้าเราถึงสก็อตเทปออก น้ำรูในจะพุ่งได้ไกลกว่ากัน สังเกตและบันทึกการทดลอง ผลการทดลองออกมาว่า น้ำรูล่าง พุ่งได้ไกลที่สุด

              สรุป ผลการทดลอง น้ำรูล่างสุดพุ่งได้ไกลที่สุด ก็เพราะว่า รูที่อยู่ล่างสุดมีแรงดันอากาศที่เยอะกว่า ทำให้น้ำพุ่งมาจากรูด้านล่างมากที่สุด

            3. กิจกรรมแรงดันน้ำพุ



              เนื่องจากน้ำตามหลักความเป็นจริง น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ  เมื่อเราเทน้ำใส่ขวดที่มีสายยางต่ออยู่ จึงทำให้น้ำไหนลงไปสู่ปลายสาย ยิ่งเรานำปลายสายอยู่ต่ำกว่าต้นสายมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้น้ำพุ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น 

            4.กิจกรรมเป่าเชือกจากหลอด




              นำไหมพรมมาร้อยใส่หลอดแล้วมัดให้แน่น จากนั้นให้นักศึกษาเป่าลมเข้าไปในหลอดในมุม 45 องศา  ลมที่เป่าผ่านหลอดอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ไหมพรมส่วนที่ห้อยอยู่เคลื่อนที่เป็นวงกลมได้

            5.กิจกรรมจากแรงดันอากาศ (ทฤษฎีของลูกยาง)



             นำกระดาษ A4 มาพับให้ได้ 8 ช่อง ตัดออกมา 1 อัน จากนั้น ใช้กรรไกรตัดตรงกลางครึ่งนึง แล้วพับกระดาษไปคนละข้างดังรูป เสร็จแล้วพับส่วนล่างของกระดาษเล็กน้อย และใล้คลิปมาติดส่วนด้านล่างไว้

             สรุป เมื่อเราโยนลูกยางที่เราทำขึ้นไปข้างบน อากาศที่เคลื่อนที่จะเข้ามาพยุงปีกทั้งสองข้างที่เราพับไว้ จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่อยู่บนอากาศในนานขึ้นและตกลงสู่พื้นอย่างช้าๆ

             6.กิจกรรมเทียนไขดูดน้ำ



              นำน้ำใส่ถาด จากนั้นจุดเทียนแล้วนำเทียนไปใส่ไว้ในถาด แล้วนำแล้วไปครอบเทียนไว้ หลังจากที่นำแก้วมาครอบเทียนที่จุดไฟอยู่ ทำให้เทียนไขดับ แล้วน้ำก็จะเข้าไปสู่ในตัวแก้ว

              สรุป น้ำที่เข้าไปสู่ในตัวแก้ว เพราะ เมื่ออกซิเจนในแก้วถูกการเผาไหม้จนหมด จึงทำให้เทียนไขนั้นดับทำให้ความดันในแก้วมีน้อยกว่านอกแก้ว ความดันอากาศภายนอกจึงดันน้ำนอกแก้วเข้าไปข้างในที่มีความดันอากาศน้อยกว่า

             7.กิจกรรมกระจกสะท้อนแสง





              นำกระจก 2 แผ่นมาตั้งให้เป็นมุมสามเหลี่ยม จากนั้น นำรูปมาใส่ระหว่างกระจก จึงทำให้เกิดภาพสะท้อนเกิดขึ้น ดังภาพ

              สรุป  แสงจะสะท้อนจากกระจกอีกด้านนึง ไปอีกด้านนึง จึงทำให้เกิดภาพหลายๆ ภาพ


    เทคนิคการสอน (Technical Education)
    • มีการใช้คำถาม-ตอบ ในเรื่องที่เรียนอยู่
    • อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตนเอง
    ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
    • ได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ นักศึกษา
    • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์
    • ได้ทักษะการสังเกต Observe Skills
    การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
    • สามารถนำ ความรู้ที่ได้ในเรื่องการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในคาบ การทดลอง ไปใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ ได้
    ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
    • อาจารย์อธิบายถึงกระบวนการต่างๆ ที่ทดลองอย่างละเอียดและเข้าใจง่าย

     

    Diary Note 20 October 2015

    Diary Note No.10

    Substance

    นำเสนอบทความ
    • เลขที่ 11 เรื่อง ทำอาหาร กิจกรรมที่ที่ส่งเสริมทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
    • เลขที่ 12 เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด  
    นำเสนอของเล่น 3 ชิ้น
    1. ของเล่นที่เด็กทำได้เอง : เต๊าะ
    2. ของเล่นเข้ามุม : เครื่องดูดจอมกวน
    3. ของเล่นที่ทำการทดลอง : สีเริงระบำ
    1.ของเล่นที่เด็กทำได้เอง : เต๊าะ

    อุปกรณ์



    1. ฝาขวดน้ำ
    2. ถุงพลาสติก
    3. กรรไกร
    4. ยางรัดผม
      ขั้นตอนการทำ 
    1. นำถุงพลาสติกมาหุ้มบนฝาขวดน้ำแล้วดึงให้ตึง จากนั้นก็รัดด้วยหนังยาง



         2. จากนั้น นำยางมารัดบนฝาขวดน้ำให้ได้ดังรูป




        3. เสร็จแล้วค่ะ เครื่อง เต๊าะ





    วิธีการเล่น
    • ใช้นิ้วมือดึงหนังยาง แล้วปล่อย จะทำให้เกิดเสียงดังเต๊าะ



    2.ของเล่นเข้ามุม  : เครื่องดูดจอมกวน






    อุปกรณ์
    1. ขวดน้ำขนาด 5 ลิตร
    2. หลอดน้ำ 2 หลอด
    3. ลูกโป่ง 1 ลูก
    4. กรรไกร
    5. เทปกาว
    6. ดินน้ำมัน
    7. อุปกรณ์สำหรับเจาะ
    ขั้นตอนการทำ 
    1. นำฝาขวดน้ำมาเจาะรู 2 รู ขนาดให้พอดีกับหลอดน้ำ
    2. นำหลอดน้ำ 1 หลอด มาใส่ในลูกโป่ง พร้อมติดเทปกาว
    3. นำหลดน้ำที่ไม่มีลูกโป่ง และมีลูกโป่งใส่ไปที่ฝาขวดน้ำ
    4. หลังจากนั้น ให้นำทั้งหมดใส่ไปในขวด ปิดฝาให้แน่น
    5. ติดดินน้ำมันตรงฝาขวดน้ำที่เจาะรูไว้เผื่อไม่ให้อากาศเข้าสู่ภายในขวด
    วิธีการเล่น

    • ให้เด็กเป่าหลอดที่ไม่มีลูกโป่ง จากนั้นให้เด็กลองดูดหลอดที่มีลูกโป่งแล้วให้เด็กสังเกต
     สรุป
    • เมื่อดูดหลอดสีเขียวซึ่งไม่ได้ต่อกับลูกโป่ง อากาศจะเข้าไปในหลอดสีชมพูและเข้าปากเรา จึงทำให้อากาศในขวดลดน้อยลง ทำให้อากาศภายนอกไหลเข้าไปในหลอดสีชมพูที่ต่อกับสีลูกโป่ง และทำให้ลูกโป่งพองขึ้นนั่นเอง

    3.ของเล่นที่ทำการทดลอง : สีเริงระบำ


    อุปกรณ์
    1. นม
    2. สีผสมอาหาร
    3. น้ำยาล้างจาน
    4. ถ้วยหรือแก้ว
    ขั้นตอนการทดลอง
    1. เทนมลงในภาชนะ
    2. หยดสีลงไปในนม
    3. หยดน้ำยาล้างจานลงไปสังเกตดูการเปลี่ยนแปลง
    สรุป 
    • น้ำนมอยู่นิ่งๆ ในจานเพราะมีแรงตึงผิว   เมื่อเราเติมน้ำยาล้างจานลงไป จะทำให้แรงตึงผิวของน้ำนมลดลง  แรงตึงผิวของน้ำนมบริเวณขอบจานที่มีมากกว่าตรงกลางทำให้น้ำนมไหลไปที่ขอบจานและพาสีผสมอาหารไปด้วย  สีต่างๆ ก็เลยเกิดการเคลื่อนที่ จนกว่าน้ำยาล้างจานจะละลายไปจนหมดนั่นเอง
    เทคนิคการสอน (Technical Education)
    • มีการใช้คำถาม-ตอบ ในเรื่องที่เรียนอยู่
    • อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตนเอง
    ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
    • ได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ นักศึกษา
    • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์
    การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
    • สามารถนำ ความรู้ที่ได้ในเรื่องของการทำของเล่น การทำลอง ต่างๆ ไปประยุกต์ในการสอน ให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ โดยให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง
    ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
    • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการกระตุ้นให้นักศึกษาอยู่ในการสอนตลอดเวลา สอนเข้าใจง่าย และมีการสรุปองค์ความรู้ให้นักศึกษาได้ฟังอย่างละเอียด