วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary Note 20 October 2015

Diary Note No.10

Substance

นำเสนอบทความ
  • เลขที่ 11 เรื่อง ทำอาหาร กิจกรรมที่ที่ส่งเสริมทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 12 เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด  
นำเสนอของเล่น 3 ชิ้น
  1. ของเล่นที่เด็กทำได้เอง : เต๊าะ
  2. ของเล่นเข้ามุม : เครื่องดูดจอมกวน
  3. ของเล่นที่ทำการทดลอง : สีเริงระบำ
1.ของเล่นที่เด็กทำได้เอง : เต๊าะ

อุปกรณ์



  1. ฝาขวดน้ำ
  2. ถุงพลาสติก
  3. กรรไกร
  4. ยางรัดผม
  ขั้นตอนการทำ 
  1. นำถุงพลาสติกมาหุ้มบนฝาขวดน้ำแล้วดึงให้ตึง จากนั้นก็รัดด้วยหนังยาง



     2. จากนั้น นำยางมารัดบนฝาขวดน้ำให้ได้ดังรูป




    3. เสร็จแล้วค่ะ เครื่อง เต๊าะ





วิธีการเล่น
  • ใช้นิ้วมือดึงหนังยาง แล้วปล่อย จะทำให้เกิดเสียงดังเต๊าะ



2.ของเล่นเข้ามุม  : เครื่องดูดจอมกวน






อุปกรณ์
  1. ขวดน้ำขนาด 5 ลิตร
  2. หลอดน้ำ 2 หลอด
  3. ลูกโป่ง 1 ลูก
  4. กรรไกร
  5. เทปกาว
  6. ดินน้ำมัน
  7. อุปกรณ์สำหรับเจาะ
ขั้นตอนการทำ 
  1. นำฝาขวดน้ำมาเจาะรู 2 รู ขนาดให้พอดีกับหลอดน้ำ
  2. นำหลอดน้ำ 1 หลอด มาใส่ในลูกโป่ง พร้อมติดเทปกาว
  3. นำหลดน้ำที่ไม่มีลูกโป่ง และมีลูกโป่งใส่ไปที่ฝาขวดน้ำ
  4. หลังจากนั้น ให้นำทั้งหมดใส่ไปในขวด ปิดฝาให้แน่น
  5. ติดดินน้ำมันตรงฝาขวดน้ำที่เจาะรูไว้เผื่อไม่ให้อากาศเข้าสู่ภายในขวด
วิธีการเล่น

  • ให้เด็กเป่าหลอดที่ไม่มีลูกโป่ง จากนั้นให้เด็กลองดูดหลอดที่มีลูกโป่งแล้วให้เด็กสังเกต
 สรุป
  • เมื่อดูดหลอดสีเขียวซึ่งไม่ได้ต่อกับลูกโป่ง อากาศจะเข้าไปในหลอดสีชมพูและเข้าปากเรา จึงทำให้อากาศในขวดลดน้อยลง ทำให้อากาศภายนอกไหลเข้าไปในหลอดสีชมพูที่ต่อกับสีลูกโป่ง และทำให้ลูกโป่งพองขึ้นนั่นเอง

3.ของเล่นที่ทำการทดลอง : สีเริงระบำ


อุปกรณ์
  1. นม
  2. สีผสมอาหาร
  3. น้ำยาล้างจาน
  4. ถ้วยหรือแก้ว
ขั้นตอนการทดลอง
  1. เทนมลงในภาชนะ
  2. หยดสีลงไปในนม
  3. หยดน้ำยาล้างจานลงไปสังเกตดูการเปลี่ยนแปลง
สรุป 
  • น้ำนมอยู่นิ่งๆ ในจานเพราะมีแรงตึงผิว   เมื่อเราเติมน้ำยาล้างจานลงไป จะทำให้แรงตึงผิวของน้ำนมลดลง  แรงตึงผิวของน้ำนมบริเวณขอบจานที่มีมากกว่าตรงกลางทำให้น้ำนมไหลไปที่ขอบจานและพาสีผสมอาหารไปด้วย  สีต่างๆ ก็เลยเกิดการเคลื่อนที่ จนกว่าน้ำยาล้างจานจะละลายไปจนหมดนั่นเอง
เทคนิคการสอน (Technical Education)
  • มีการใช้คำถาม-ตอบ ในเรื่องที่เรียนอยู่
  • อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตนเอง
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
  • ได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ นักศึกษา
  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
  • สามารถนำ ความรู้ที่ได้ในเรื่องของการทำของเล่น การทำลอง ต่างๆ ไปประยุกต์ในการสอน ให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ โดยให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการกระตุ้นให้นักศึกษาอยู่ในการสอนตลอดเวลา สอนเข้าใจง่าย และมีการสรุปองค์ความรู้ให้นักศึกษาได้ฟังอย่างละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น